The Bee Gees
สามพี่น้องตระกูลกิบบ์ส "มอริซ, โรบิน, แบร์รี" ทั้งสามคนเกิดที่เกาะมาน ประเทศอังกฤษ โดย มอริซและโรบินเป็นฝาแฝดกัน ปี 2498 สามพี่น้องกิบบ์ เริ่มโตพอที่จะออกตระเวนโชว์ความสามารถตามงานเทศกาล และรายการโทรทัศน์ต่างๆ โดยในช่วงนี้พี่น้องกิบบ์ใช้ชื่อวงหลายชื่ออาทิ “บูลแคตส์” และ “แร็ตเทิ้ล สเน็กส์” จนปี 2501 ต่อมาย้ายไปพำนักในเมืองบริสเบน ประเทศออสเตรเลีย พร้อมกับตั้งชื่อวงใหม่ว่า บีจีส์ (Bee Gees) ซึ่งย่อมาจากคำเต็ม ซึ่งคิดขึ้นจากดีเจวิทยุ บิลล์ เกตส์ (Bill Gates) จากการนำชื่อย่อของเขาเอง และของ บิลล์ กู๊ด (Bill Goode) (ที่เห็นพวกเขาแสดงที่ Speedway Circuit เมืองบริสเบน) -นำมารวมกัน- ดังนั้นจึงไม่ได้ตั้งจำเพาะเจาะจงหมายถึง "Brothers Gibb"ตามความเข้าใจกันส่วนใหญ่
ค.ศ. 1962 บีจีส์เซ็นสัญญาทำอัลบั้มชุดแรก “เดอะ บีจีส์ ซิง แอนด์ เพลย์ 14 แบร์รี่ ซองส์” กับสังกัด“เฟสทีฟเร็กคอร์ด” แต่ไม่ประสบความสำเร็จในออสเตรเลีย ทำให้พี่น้องกิบบ์ตัดสินใจไปประเทศอังกฤษ ต่อมาใน ค.ศ. 1966 ในยุคที่เดอะ บีทเทิลส์โด่งดังเป็นอันมาก พวกเขามีโอกาสได้ร่วมงานกับ “โรเบิร์ต สติกวู้ด” จนมีผลงานชุด “นิวยอร์กไมนิ่ง ดิสแอสเตอร์ 1941” ออกวางตลาดกลาง ค.ศ. 1967 อัลบั้มชุดนี้ติดอันดับบนชาร์ตเพลงยอดนิยมทั้งในประเทศอังกฤษและสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพลง “ทูเลิฟซัมบอดี” และมีเพลงฮิตอื่นอย่าง “ฮอลิเดย์” “แมสซาชูเล็ตต์” “เวิดส์” และ “ไอสตาร์ตเต็ดอะโจ๊กส์” เอกลักษณ์อย่างหนึ่งของเพลงของบีจีส์คือ เป็นเพลงป็อปเน้นเสียงประสานด้วยเสียงหลอกบีบเสียงให้สูงผิดธรรมชาติหรือที่ เรียกว่า “ฟอลเซตโต”ส่วนเนื้อเพลงจะมีมุมมองแปลกๆ
แต่แล้วก็เกิดความเห็นที่ไม่ลงรอยกันระหว่างพี่น้องทั้งสามคนจนได้แยกย้ายออกไปมีผลงานเดี่ยว ช่วงระยะเวลาหนึ่งก่อนจะกลับมารวมตัวกันใหม่ใน ค.ศ. 1970 มอริซเข้าไปหลงใหลในแวดวงสังคมคนดัง กับศิลปินซุปเปอร์สตาร์ยุคนั้น เช่น เดอะ บีทเทิ้ลส์,เดวิด โบวี่ และไมเคิล เคน มอริซได้สมรสกับ “ลูลู่” นักร้องเพลงป็อปชื่อดังที่วิวาห์กันใน ค.ศ. 1967 แต่ชีวิตคู่ก็ต้องพังทลายในปี ค.ศ. 1974 จนมาแต่งงานครั้งที่สองกับ “อีวอน สเปนเซอร์ลีย์” โรคติดเหล้าของมอริซจึงดีขึ้น มอริซกลับมาดื่มหนักอีกครั้ง เมื่อแอนดี้น้องชายคนเล็กเสียชีวิตในปี ค.ศ. 1988 เพราะเสพยาเกินขนาด
ในยุคสมัยดนตรีดิสโก้เฟื่องฟู ชื่อเสียงบีจีส์ขจรขจายไปทั่วโลก ภายหลังปล่อยอัลบั้มประกอบภาพยนตร์ “แซตเทอร์เดย์ไนต์ฟีเวอร์” ที่มีจอห์น ทราโวตา แสดงนำประกอบด้วยเพลง “มอร์แดนอะวูแมน”“สเตอิ้ง อะไลฟ์” “ไจฟ์ ทอล์กกิ้น” ความสำเร็จได้รับการตอกย้ำด้วยอัลบั้ม “สปิริตส์แฮฟวิ่งโฟลว” ปี 2522 ซึ่งมีเพลงอันดับ 1 อย่าง เพลง “ทราจีดี้” ,“ทูมัชเฮฟเวน” และ“เลิฟยูอินไซด์เอาต์” จากนี้เองได้สร้างสถิติทำให้บีจีส์มีเพลงอันดับ 1 ในอเมริกาติดต่อกัน 6 เพลง เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของชาร์ทเพลงอเมริกา (ซึ่งต่อมาวิทนีย์ ฮูสตันทำได้อีกครั้ง) อัลบั้มชุดนี้ทำยอดขาย 30 ล้านชุดทั่วโลก แต่เมื่อยุคดิสโก้ถึงคราวดับสูญในคริสต์ทศวรรษที่ 1980 แนวดนตรียุคนั้นก็เข้าสู่กระแสของ “พังก์ร็อกและนิวเวฟ” ชื่อเสียงของบีจีส์ก็เงียบตามไปด้วย แต่ก็มีเพลงฮิตบนเกาะอังกฤษในปี พ.ศ. 2530 กับเพลง “ยูวินอะเกน” จากอัลบั้ม อี.เอส.พี. บีจีส์ ประคับประคองชื่อเสียงแบบเสมอตัวได้ต่อมาอีก 20 ปี และออกอัลบั้ม “ดิสอิสแวร์ไอเคมอิน” ค.ศ. 2001 ซึ่งมีเพลงดังอย่าง “อะโลน”
มอริซ กิบบ์ เสียชีวิตเมื่อวันที่ 12 มกราคม ค.ศ. 2003
วันอาทิตย์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2554
The Carpenters
วง Carpenters เป็นวงที่มีมานานแล้ว น่าจะพอๆกับวง The BeeGees เลย
สมาชิกของวงนี้ประกอบด้วยสองพี่น้องในตระกูล Carpenter มี 2 คน
คนแรกก็คือ Richard Carpenter
คนที่สองคือก็คือ Karen Carpenter
ทั้งสองพี่น้องในตระกูล Carpenter เริ่มต้นบนถนนดนตรีด้วยการตั้งวงในสไตล์ Trio ร่วมกับเพื่อนซึ่งเป็นผู้เล่นในตำแหน่ง เบสกีตาร์ และเข้าร่วมประกวดวงตนตรีในงาน Hollywood Battle Of The Bands Contest. และพวกเขายังได้รับรางวัลชนะเลิศอีกด้วยหลังจากที่ได้รับรางวัลในครั้งนั้น พวกเขาได้พยายามที่จะพัฒนาวิธีการในการขับร้อง และประสานเสียงให้ดียิ่งขึ้น จนเมื่อพวกเขามั่นใจในผลงานของพวกเขาเองอย่างเต็มที่ จึงได้ส่ง Demo Tapes ไปยังบริษัทแผ่นเสียงต่างๆ จนกระทั่งวันหนึ่ง Herb Alpert นักดนตรี และผู้ที่มีหุ้นส่วนใหญ่ในสังกัด A&M Records. ได้ฟังผลงานของพวกเขาจึงได้เรียกพวกเขามาเซ็นสัญญาเข้าในสังกัดในรูปแบบของวง Duo ภายใต้ชื่อ The Carpenters. พร้อม ๆ กับการออกซิงเกิ้ลนำร่องเพลงแรก ก็คือ “Close to You” ในปี 1970 ปรากฏว่าเพลงดังกล่าว ได้รับการต้อนรับจากคนฟังอย่างท่วมทัน และกลายเป็นที่ได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่นั้นมาจนถึงช่วง กลางทศวรรษ ที่ 70 เลยทีเดียว เพลง Close to You สามารถขึ้นไปอยู่ในอันดับ 1 ในอเมริกา และอยู่อันดับ 6 สูงสุดในประเทศอังกฤษ
พวกเขาเคยมีผลงานที่ได้รับความนิยมมากมายไม่ว่าจะเป็น Bert Bacharach Scott Davis และ Poul Williams. เพลงของพวกเขามีท่วงทำนองที่ไพเราะนุ่มนวลและกลมกลืนอย่างยิ่งของการเรียบเรียงที่เรียกว่า Vocal harmony อันเป็นเอกลักษณ์ที่ยากเลียนแบบได้ของ The Carpenters จากฝีมือของRichard Carpenter
ในช่วงปลายทศวรรษที่ 70 ผลงานของ The Carpenters ค่อนข้างจะทิ้งช่วงไปนานพอสมควร โดยพวกเขามีผลงานใน Studio ล่าสุดในปี 1977 คืออัลบั้ม Passage ต่อมาอีก 1 ปี ออกอัลบั้มรวมเพลงชุด The Singles 1974 – 1978 หลังจากนั้นอีก 3 ปีจึงมีอัลบั้มชุด Made In America ในปี 1981 ซึ่งถือว่าเป็นชุดสุดท้ายของ Carpenters อย่างแท้จริง
วง Carpenter ได้ยุบตัวลงไปเนื่องจากความวิตกของตัว karen Carpenter ที่เป็นห่วงภาพลักษณ์ของตนเองค่อนข้างมาก เธอจึงใช้วิธีการลดความอ้วน และใช้ยาค่อนข้างมากจนทำให้สุขภาพของเธอเริ่มแย่ลงในระยะหลัง จนเป็นสาเหตุสำคัญในการเสียชีวิตของเธอด้วยสาเหตุโรคหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน อันมีผลมาจากโรคประจำตัวของเธอคือโรค Anorexia (โรคกลัวอ้วน). Karen Carpenter เสียชีวิตในวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 1983 อย่างไรก็ตามหลังการเสียชีวิตของ karen ในอีก 2 ปีต่อมา The Carpenters ยังคงมีอัลบั้มตามมาอีก 2 ชุด คือ An Old Fashioned Christmas (1984) และชุด Yesterday Once More (1985)
ประวัติของแต่ละคน
1.Richard Carpenter เกิดวันที่ 15 ตุลาคม ค.ศ. 1945 ที่เมือง New Heaven รัฐ Connecticutทำหน้าที่เล่นเปียโน, คีย์บอร์ด และร้อง
2.Karen Carpenterเกิดวันที่ 2 มีนาคม 1950 ที่ New Heaven, Connecticut
เป็นนักร้องนำของวง
ส่วนเพลงที่ดัง ๆ ของ Carpenters คงจะเป็นเพลง “Close to you” และ “Yesterday Once More”
Paul Anka
Paul Anka | |
---|---|
พอล อัลเบิร์ต แองคา (อังกฤษ: Paul Albert Anka), OC เกิดเมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม ค.ศ. 1941 ในออตทาวา รัฐออนแทริโอ เป็นนักร้อง นักแต่งเพลง นักแสดงชาวแคนาดา ที่มีเชื้อสายเลบานอน เขาเป็นพลเมืองอเมริกันในปี 1990 แองคา โด่งดังในฐานะทีนไอดอลในช่วงปลายทศวรรษ 1950 และทศวรรษ 1960 เขามีเพลงดังอย่าง "Diana", "Lonely Boy", และ "Put Your Head on My Shoulder" เขายังเขียนเพลงดังที่เป็นที่รู้จักอย่างเพลงธีม The Tonight Show Starring Johnny Carson และเพลงดังของทอม โจนส์ ที่ชื่อ She's A Lady และแต่งเนื้อให้กับเพลงประจำตัวของแฟรงก์ ซินาตรา ที่ชื่อ "My Way" | |
วันอาทิตย์ที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2554
Voltaire
วอลแตร์ (ฝรั่งเศส: Voltaire; 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2237 - 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2321) เป็นนักปรัชญาชาวฝรั่งเศสในคริสต์ศตวรรษที่ 18 มีชื่อเดิมว่า ฟร็องซัว-มารี อารูเอ (François-Marie Arouet) เกิดที่กรุงปารีสเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2237 (ค.ศ. 1694) ในตระกูลคนชั้นกลาง
ประวัติ
วอลแตร์เป็นคนมีการศึกษาดี ฉลาด มีไหวพริบ และมีความสามารถพิเศษทางวรรณศิลป์ เมื่อเขาเข้าศึกษาในโรงเรียนหลุยส์-เลอ-กร็อง (Louis-le-Grand) ที่มีชื่อของพระนิกายเยซูอิต ทำให้วอลแตร์มีความสนใจเรื่องประวัติศาสตร์ร่วมสมัย การเมือง ตลอดจนวรรณกรรมของนักเขียนกรีกโรมัน ซึ่งมีอิทธิพลทำให้เขามีรสนิยมแบบคลาสสิก เมื่อเขาจบการศึกษาวอลแตร์ก็ทำงานเป็นทนายความ แต่ความที่เขาเป็นคนหัวแข็งและชอบขบถ จึงไม่ชอบอาชีพนี้เลย เพราะเขาคิดว่าเป็นตำแหน่งที่ "ซื้อเอาได้" เขาอยากทำงานที่ "ไม่ต้องซื้อหา"
วอลแตร์หันมาเขียนหนังสืออย่างจริงจังเมื่ออายุได้ 20 ปี เขาชอบเขียนหนังสือประเภทเสียดสีสังคมอยู่เสมอ ถึงแม้ว่าเขาจะคบหาสมาคมกับชนชั้นสูงก็ตามแต่เขาก็ไม่ละเว้นที่จะโจมตีชนชั้นนี้ และในปี พ.ศ. 2260 (ค.ศ. 1717) เขาเขียนกลอนล้อเลียนผู้สำเร็จราชการแผ่นดินของพระเจ้าหลุยส์ที่ 15 จึงถูกส่งเข้าคุกบัสตีย์ ขณะที่อยู่ในคุกเขาเขียนบทละครโศกนาฏกรรมเรื่องแรกขึ้นชื่อ เออดิป (Œdipe) ในปี พ.ศ. 2261 (ค.ศ. 1718) เพื่อต่อต้านความเชื่อทางศาสนา ต่อต้านความเชื่อเรื่องโชคเคราะห์ และชะตาลิขิต และเพื่อเน้นความสำคัญทางเสรีภาพของมนุษย์ ละครเรื่องนี้ประสบความสำเร็จอย่างงดงาม เมื่อนำออกแสดงภายหลังที่เขาพ้นโทษ ก็ส่งผลให้วอลแตร์มีฐานะทัดเทียมกับกอร์เนย (Corneille) และ ราซีน (Racine) นักเขียนบทละครโศกนาฎกรรมที่ยิ่งใหญ่แห่งศตวรรษที่ 17 และทำให้เขาได้มีโอกาสใช้ชีวิตอย่างหรูหราในราชสำนัก ต่อมาเขาได้ใช้ชื่อ วอลแตร์ (Voltaire) ซึ่งเป็นชื่อที่เขาคิดขึ้นแทนชื่อเดิม
ในปี พ.ศ. 2269 (ค.ศ. 1726) วอลแตร์ถูกขังคุกอีกครั้ง เนื่องจากมีเรื่องพิพาทกับขุนนางชั้นผู้ใหญ่คนหนึ่งคือ ดุ๊ก เดอ โรอ็อง-ชาโบ (Duc de Rohan-Chabot) เมื่อออกมาจากคุกเขาถูกเนรเทศไปอังกฤษ (พ.ศ. 2269 - 2271) ทำให้เขาได้มีโอกาสศึกษาปรัชญาของ จอห์น ล็อก (John Locke) นักปราชญ์ชาวอังกฤษและผลงานของ วิลเลียม เชกสเปียร์ (William Shakespeare) ที่มีอิทธิพลต่องานละครและผลงานอื่นของเขาในเวลาต่อมาเป็นอย่างมาก บทละครของวอลแตร์ที่ได้รับอิทธิพลจากเช็คสเปียร์ คือ Zaïre และ Brutus เพียงปีเดียวในประเทศอังกฤษ เขาก็มีผลงานเขียนเป็นภาษาอังกฤษชื่อ Essay Upon Epic Poetry นอกจากนี้ในปี พ.ศ. 2271 (ค.ศ. 1728) เขาก็ได้พิมพ์มหากาพย์ชื่อ La Henriade เพื่อสดุดีพระเจ้าอองรีที่ 4 แห่งฝรั่งเศส ในฐานะกษัตริย์ที่ทรงขันติธรรมในด้านศาสนา เนื่องจากทรงเป็นผู้บัญญัติ “L’Edit de Nantes” ซึ่งเป็นกฎหมายที่ช่วยให้สงครามระหว่างพวกคาทอลิกและโปรแตสแตนท์ยุติลงได้ ซึ่งมหากาพย์นี้ไม่สามารถตีพิมพ์ในประเทศ ฝรั่งเศสเนื่องจากไม่เป็นที่พอใจของราชสำนัก รัฐสภา และพระสันตะปาปา
นอกจากนี้ วอลแตร์ยังนิยมความคิดของนิวตัน (Newton) นักฟิสิกส์ นักคณิตศาสตร์ และนักดาราศาสตร์ชาวอังกฤษเป็นอย่างมาก เขาแปลงานของนิวตัน และยังเขียนหนังสือว่าด้วยทฤษฎีของนักวิทยา-ศาสตร์ผู้นี้อีกหลายเล่ม วอลแตร์เห็นว่าแนวความคิดของนิวตันก่อให้เกิดการปฏิวัติในภูมิปัญญาของมนุษย์ เพราะนิวตันเชื่อว่าความจริงย่อมได้จากประสบการณ์และการทดลอง เขาไม่ยอมรับสมมติฐานใด ๆ โดยอาศัยสูตรสำเร็จโดยวิธีของคณิตศาสตร์เพียงอย่างเดียว
เมื่อกลับประเทศฝรั่งเศสวอลแตร์ก็เขียนบทความโจมตีศาสนา เมื่อบาทหลวงปฏิเสธไม่ยอมทำพิธีให้กับนักแสดงละครหญิงซึ่งรับบทแสดงเป็นราชินีโจคาสต์ ในละครเรื่อง Œdipe นับตั้งแต่นั้นมาวอลแตร์จึงโจมตีเรื่องอคติ และการขาดขันติธรรมของศาสนาคริสต์นิกายคาทอลิกอยู่เสมอ แม้จะถูกตักเตือนและถูกข่มขู่จากผู้มีอำนาจเซ็นเซ่อร์งานเขียนของเขา แต่วอลแตร์ก็ไม่เคยเกรงกลัว นอกจากนี้เขายังเปิดโปงทุกสิ่งทุกอย่างที่เขาเห็นว่าไม่ถูกต้อง
เขาเกือบถูกจับอีกครั้งเมื่อพิมพ์หนังสือชื่อ จดหมายปรัชญา (Les Lettres philosophiques หรือ Lettres anglaises) ออกมาในปี พ.ศ. 2277 (ค.ศ. 1734) จดหมายปรัชญา มีทั้งความคิด เกร็ดเล็กเกร็ดน้อย ที่เขียนด้วยโวหารที่คมคาย พร้อมด้วยการเสียดสีที่ถากถาง วอลแตร์วิพากษ์วิจารณ์ทั้งศาสนา การเมือง วิทยาศาสตร์ ปรัชญา และจบลงด้วยการวิจารณ์แบลส ปาสกาล (Blaise Pascal) นักคิดคนสำคัญทางด้านศาสนาในศตวรรษที่ 17 ผลงานชิ้นนี้ทำให้วอลแตร์กลายเป็นนักปราชญ์ที่ไม่เคยทำให้ผู้อื่นเบื่อ เป็นงานที่ลีลาการเขียนเฉพาะตัวของเขาเริ่มปรากฏให้เห็นอย่างชัดเจน และด้วยหนังสือเล่มนี้ทำให้เขาต้องหนีไปอยู่ที่วังซีเร (Cirey) ของมาดาม ดูว์ ชาเตอเล (Madame du Châtelet) ในแคว้นลอแรนน์ หล่อนเป็นสตรีผู้สูงศักดิ์และทรงความรู้ ทั้งคู่มีความสัมพันธ์กันยาวนานถึง 17 ปี วอลแตร์รักหล่อนมาก นับว่าหล่อนเป็นแรงบันดาลใจที่สำคัญอีกคนหนึ่ง
ตลอดเวลาที่พักอยู่วังซีเร วอลแตร์จะเขียนหนังสืออยู่ไม่หยุด และจะสนใจศึกษาเรื่องวิทยาศาสตร์ด้วย เขามีโอกาสเดินทางไปต่างประเทศ เช่น ประเทศเนเธอร์แลนด์ เบลเยียม ปรัสเซีย ซึ่งเขาได้กลายเป็นคนโปรดของพระเจ้าฟรีดริชที่ 2 แห่งปรัสเซีย (Frederic II roi de Prusse) ในปี พ.ศ. 2288 (ค.ศ. 1745) วอลแตร์ได้รับแต่งตั้งให้เป็นนักประวัติศาสตร์แห่งชาติ และปีต่อมาก็ได้รับเลือกให้เป็นสมาชิกบัณฑิตยสถานของฝรั่งเศส (l’Académie française) และยังได้รับบรรดาศักดิ์เป็นขุนนางอีกด้วย จากการที่วอลแตร์เป็นคนที่มีความสามารถ เขาจึงได้กลายเป็นที่โปรดปรานของมาดาม เดอ ปงปาดูร์ (Madame de Pompadour) พระสนมเอกของพระเจ้าหลุยส์ที่ 15 แต่อย่างไรก็ตามชีวิตของเขาก็เริ่มตกอับ กล่าวคือเขาเริ่มเบื่อหน่ายกับชีวิตในราชสำนักที่มีแต่การเอารัดเอาเปรียบ การแก่งแย่งชิงดี ประจบสอพลอ อีกทั้งมาดาม เดอ ปงปาดูร์ ก็หันไปโปรดกวีคนใหม่คือ เครบียง (Crébillon) และยิ่งร้ายไปกว่านั้นในปี พ.ศ. 2292 (ค.ศ. 1749) มาดาม ดูว์ ชาเตอเล ก็ได้เสียชีวิตลง วอลแตร์จึงรู้สึกโดดเดี่ยวอ้างว้างมาก ชะตาชีวิตระหว่างปี พ.ศ. 2286-2290 นี้ นับเป็นแรงบันดาลใจให้เขาแต่งนวนิยายเชิงปรัชญาที่สำคัญ คือ ซาดิก (Zadig ou La Destineé) ซึ่งตีพิมพ์ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2291 (ค.ศ. 1748)
นอกจากนี้ในปี พ.ศ. 2293 (ค.ศ. 1750) เขาได้รับเชิญจากพระเจ้าฟรีดริชที่ 2 ให้ไปอยู่ในราชสำนัก ระหว่างที่พักอยู่ที่ราชสำนักเบอร์ลินเขาได้ตีพิมพ์ผลงานที่สำคัญสองเรื่อง คือ ศตวรรษพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 (Le Siècle de Louis XIV) และนิทานปรัชญาเรื่อง มีโครเมกา (Micromégas) ต่อมาไม่นานวอลแตร์กลับได้พบความผิดหวังในตัวพระองค์อย่างรุนแรง เพราะพระองค์ทรงเห็นวรรณคดีและปรัชญาเป็นเพียงเครื่องเล่นประเทืองอารมณ์เท่านั้น อีกทั้งพระองค์ทรงเล่นการเมืองด้วยความสับปลับ และเมื่อมีปัญหากับพระเจ้าเฟรเดอริกที่ 2 วอลแตร์ก็ได้ไปตั้งรกรากอยู่ในเมืองเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ที่คฤหาสน์เลเดลิส (Les Délices) และอยู่ที่นั่นกับหลานสาวชื่อมาดามเดอนี (Madame Denis) ซึ่งมีความสัมพันธ์กันมาได้สิบปีแล้ว ในปี พ.ศ. 2300 วอลแตร์ซื้อคฤหาสน์ใหม่ที่แฟร์เน (Ferney) ในประเทศฝรั่งเศสติดชายแดนสวิตเซอร์แลนด์ และเขาได้เริ่มเขียนนิทานปรัชญาเรื่อง ก็องดิดด์ หรือ สุทรรศนนิยม (Candide ou L’optimisme) ในปีต่อมา ซึ่งถือกันว่าเป็นผลงานชิ้นเอกของเขาอีกเรื่องหนึ่งเลยที่เดียว ผลงานชิ้นนี้ได้ยืนยันความเป็นปราชญ์ของวอลแตร์ ผู้ซึ่งเป็นสัญลักษณ์แห่งความคิดวิพากษ์ วิจารณ์ในศตวรรษที่18 ได้เป็นอย่างดี
ระหว่างในปี พ.ศ. 2305 – 2308 วอลแตร์ได้ช่วยเหลือครอบครัวกาลาส (Calas) โดยการเรียกร้องความยุติธรรมให้แก่ ฌ็อง กาลาส ผู้เป็นบิดาซึ่งถูกตัดสินลงโทษจนเสียชีวิต จากข้อกล่าวหาว่าฆ่าลูกชายที่ประสงค์จะเปลี่ยนไปนับถือนิกายคาทอลิก เขาจึงได้เขียน บทความว่าด้วยขันติธรรม (Traité sur la tolérance)
ในปี พ.ศ. 2306 ซึ่งพูดถึงการยอมรับศาสนาที่แตกต่างกันออกไปเพื่อช่วยเรียกร้องความเป็นธรรมให้กับครอบครัวกาลาส เหตุที่เขาเข้าไปช่วยเพราะเขาเห็นว่าไม่มีอะไรเลวร้ายไปกว่าการลงโทษประหารชีวิตผู้บริสุทธิ์ และคำตัดสินใหม่ก็ทำให้ตระกูลกาลาสพ้นผิด ภรรยาและบุตรธิดาของฌอง กาลาสก็ได้รับทรัพย์สมบัติของตระกูลคืน จากเหตุการณ์ครั้งนี้ทำให้วอลแตร์เปรียบเสมือนวีรบุรุษแห่งตำนาน เป็นประทีปแห่งปัญญาที่ไม่เคยมีปัญญาชนคนใดเคยทำมาก่อน
ช่วงนี้วอลแตร์ก็ยังมีผลงานคือ ปทานุกรมปรัชญา (Le Dictionnaire Philosophique) ในปี พ.ศ. 2307 (ค.ศ. 1764) อีกด้วย อย่างไรก็ตามแม้ว่าเขาจะมีความขัดแย้งกับผู้คนจำนวนมาก เพราะความกล้าที่จะเสียดสีสังคมของเขา แต่ในตอนบั้นปลายชีวิตของวอลแตร์ เขาก็ได้รับการต้อนรับอย่างทรงเกียรติ เมื่อเดินทางกลับมายังกรุงปารีส ซึ่งโรงละครกอเมดีฟร็องแซซ (La Comédie Française) จัดแสดงละครโศกนาฏกรรมเรื่องสุดท้ายที่วอลแตร์แต่งคือ อิแรน (Irène) เพื่อฉลองการกลับมาถึงกรุงปารีสของเขา โดยที่ช่วงก่อนการแสดง ช่วงสิ้นสุดแต่ละองค์ และช่วงจบการแสดง นักแสดงได้นำรูปปั้นครึ่งตัวของวอลแตร์ขึ้นบนเวที ฝูงชนก็ตบมือและส่งเสียงเรียกชื่อของเขาดังกึกก้อง
ศตวรรษต่อมาวิกตอร์ อูโก (Victor Hugo) กล่าวว่า "วอลแตร์ คือ 1789" เพราะความคิดของวอลแตร์มีอิทธิพลต่อประชาชนผู้ลุกฮือขึ้นมาทำการปฏิวัติใหญ่ในประเทศฝรั่งเศสในปี พ.ศ. 2332 จึงไม่น่าแปลกใจเลยว่า เมื่อวอลแตร์เสียชีวิตไปในวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2321 (ค.ศ. 1778) ขณะที่มีอายุได้ 84 ปีนั้น ทางศาสนาไม่อยากทำพิธีศพให้ แต่เมื่อประชาชนทำการปฏิวัติได้สำเร็จ ก็ได้นำอัฐิของเขาไปยังวิหารป็องเตอง (Le Panthéon) ในปี 1791 ในฐานะผู้ที่ประกอบคุณอนันต์ให้แก่ประเทศฝรั่งเศส
ผลงานของวอลแตร์
ผลงานของวอลแตร์มีจำนวนมากมาย หลากหลายประเภททั้งบทละคร นิยาย นิทานเชิงปรัชญา ประวัติศาสตร์ และบทกวี เขาได้รับยกย่องจากคนร่วมสมัยว่าเป็นนักเขียนบทละครชั้นนำและกวีชั้นนำ แต่ในปัจจุบันเขากลับเป็นที่ยกย่องในฐานะนักเขียนเชิงเสียดสี วิพากษ์วิจารณ์ (Le symbole de l’esprit critique) ผลงานของเขาส่วนใหญ่เป็นการเผยแพร่ความคิดทางปรัชญาไปสู่สาธารณชน เพื่อปลุกความคิดวิพากษ์วิจารณ์ให้แก่ชาวฝรั่งเศส เพื่อต่อต้านความคิดระบบสถาบันแบบเก่า การต่อสู้เพื่อขจัดความอยุติธรรมในสังคม รวมทั้งความเชื่อที่งมงายและความบ้าคลั่งทางศาสนา นอกจากนี้เขายังส่งเสริมเรียกร้องสิทธิ เสรีภาพและการแสดงความคิดเห็นอีกด้วย
ประวัติ
วอลแตร์เป็นคนมีการศึกษาดี ฉลาด มีไหวพริบ และมีความสามารถพิเศษทางวรรณศิลป์ เมื่อเขาเข้าศึกษาในโรงเรียนหลุยส์-เลอ-กร็อง (Louis-le-Grand) ที่มีชื่อของพระนิกายเยซูอิต ทำให้วอลแตร์มีความสนใจเรื่องประวัติศาสตร์ร่วมสมัย การเมือง ตลอดจนวรรณกรรมของนักเขียนกรีกโรมัน ซึ่งมีอิทธิพลทำให้เขามีรสนิยมแบบคลาสสิก เมื่อเขาจบการศึกษาวอลแตร์ก็ทำงานเป็นทนายความ แต่ความที่เขาเป็นคนหัวแข็งและชอบขบถ จึงไม่ชอบอาชีพนี้เลย เพราะเขาคิดว่าเป็นตำแหน่งที่ "ซื้อเอาได้" เขาอยากทำงานที่ "ไม่ต้องซื้อหา"
วอลแตร์หันมาเขียนหนังสืออย่างจริงจังเมื่ออายุได้ 20 ปี เขาชอบเขียนหนังสือประเภทเสียดสีสังคมอยู่เสมอ ถึงแม้ว่าเขาจะคบหาสมาคมกับชนชั้นสูงก็ตามแต่เขาก็ไม่ละเว้นที่จะโจมตีชนชั้นนี้ และในปี พ.ศ. 2260 (ค.ศ. 1717) เขาเขียนกลอนล้อเลียนผู้สำเร็จราชการแผ่นดินของพระเจ้าหลุยส์ที่ 15 จึงถูกส่งเข้าคุกบัสตีย์ ขณะที่อยู่ในคุกเขาเขียนบทละครโศกนาฏกรรมเรื่องแรกขึ้นชื่อ เออดิป (Œdipe) ในปี พ.ศ. 2261 (ค.ศ. 1718) เพื่อต่อต้านความเชื่อทางศาสนา ต่อต้านความเชื่อเรื่องโชคเคราะห์ และชะตาลิขิต และเพื่อเน้นความสำคัญทางเสรีภาพของมนุษย์ ละครเรื่องนี้ประสบความสำเร็จอย่างงดงาม เมื่อนำออกแสดงภายหลังที่เขาพ้นโทษ ก็ส่งผลให้วอลแตร์มีฐานะทัดเทียมกับกอร์เนย (Corneille) และ ราซีน (Racine) นักเขียนบทละครโศกนาฎกรรมที่ยิ่งใหญ่แห่งศตวรรษที่ 17 และทำให้เขาได้มีโอกาสใช้ชีวิตอย่างหรูหราในราชสำนัก ต่อมาเขาได้ใช้ชื่อ วอลแตร์ (Voltaire) ซึ่งเป็นชื่อที่เขาคิดขึ้นแทนชื่อเดิม
ในปี พ.ศ. 2269 (ค.ศ. 1726) วอลแตร์ถูกขังคุกอีกครั้ง เนื่องจากมีเรื่องพิพาทกับขุนนางชั้นผู้ใหญ่คนหนึ่งคือ ดุ๊ก เดอ โรอ็อง-ชาโบ (Duc de Rohan-Chabot) เมื่อออกมาจากคุกเขาถูกเนรเทศไปอังกฤษ (พ.ศ. 2269 - 2271) ทำให้เขาได้มีโอกาสศึกษาปรัชญาของ จอห์น ล็อก (John Locke) นักปราชญ์ชาวอังกฤษและผลงานของ วิลเลียม เชกสเปียร์ (William Shakespeare) ที่มีอิทธิพลต่องานละครและผลงานอื่นของเขาในเวลาต่อมาเป็นอย่างมาก บทละครของวอลแตร์ที่ได้รับอิทธิพลจากเช็คสเปียร์ คือ Zaïre และ Brutus เพียงปีเดียวในประเทศอังกฤษ เขาก็มีผลงานเขียนเป็นภาษาอังกฤษชื่อ Essay Upon Epic Poetry นอกจากนี้ในปี พ.ศ. 2271 (ค.ศ. 1728) เขาก็ได้พิมพ์มหากาพย์ชื่อ La Henriade เพื่อสดุดีพระเจ้าอองรีที่ 4 แห่งฝรั่งเศส ในฐานะกษัตริย์ที่ทรงขันติธรรมในด้านศาสนา เนื่องจากทรงเป็นผู้บัญญัติ “L’Edit de Nantes” ซึ่งเป็นกฎหมายที่ช่วยให้สงครามระหว่างพวกคาทอลิกและโปรแตสแตนท์ยุติลงได้ ซึ่งมหากาพย์นี้ไม่สามารถตีพิมพ์ในประเทศ ฝรั่งเศสเนื่องจากไม่เป็นที่พอใจของราชสำนัก รัฐสภา และพระสันตะปาปา
นอกจากนี้ วอลแตร์ยังนิยมความคิดของนิวตัน (Newton) นักฟิสิกส์ นักคณิตศาสตร์ และนักดาราศาสตร์ชาวอังกฤษเป็นอย่างมาก เขาแปลงานของนิวตัน และยังเขียนหนังสือว่าด้วยทฤษฎีของนักวิทยา-ศาสตร์ผู้นี้อีกหลายเล่ม วอลแตร์เห็นว่าแนวความคิดของนิวตันก่อให้เกิดการปฏิวัติในภูมิปัญญาของมนุษย์ เพราะนิวตันเชื่อว่าความจริงย่อมได้จากประสบการณ์และการทดลอง เขาไม่ยอมรับสมมติฐานใด ๆ โดยอาศัยสูตรสำเร็จโดยวิธีของคณิตศาสตร์เพียงอย่างเดียว
เมื่อกลับประเทศฝรั่งเศสวอลแตร์ก็เขียนบทความโจมตีศาสนา เมื่อบาทหลวงปฏิเสธไม่ยอมทำพิธีให้กับนักแสดงละครหญิงซึ่งรับบทแสดงเป็นราชินีโจคาสต์ ในละครเรื่อง Œdipe นับตั้งแต่นั้นมาวอลแตร์จึงโจมตีเรื่องอคติ และการขาดขันติธรรมของศาสนาคริสต์นิกายคาทอลิกอยู่เสมอ แม้จะถูกตักเตือนและถูกข่มขู่จากผู้มีอำนาจเซ็นเซ่อร์งานเขียนของเขา แต่วอลแตร์ก็ไม่เคยเกรงกลัว นอกจากนี้เขายังเปิดโปงทุกสิ่งทุกอย่างที่เขาเห็นว่าไม่ถูกต้อง
เขาเกือบถูกจับอีกครั้งเมื่อพิมพ์หนังสือชื่อ จดหมายปรัชญา (Les Lettres philosophiques หรือ Lettres anglaises) ออกมาในปี พ.ศ. 2277 (ค.ศ. 1734) จดหมายปรัชญา มีทั้งความคิด เกร็ดเล็กเกร็ดน้อย ที่เขียนด้วยโวหารที่คมคาย พร้อมด้วยการเสียดสีที่ถากถาง วอลแตร์วิพากษ์วิจารณ์ทั้งศาสนา การเมือง วิทยาศาสตร์ ปรัชญา และจบลงด้วยการวิจารณ์แบลส ปาสกาล (Blaise Pascal) นักคิดคนสำคัญทางด้านศาสนาในศตวรรษที่ 17 ผลงานชิ้นนี้ทำให้วอลแตร์กลายเป็นนักปราชญ์ที่ไม่เคยทำให้ผู้อื่นเบื่อ เป็นงานที่ลีลาการเขียนเฉพาะตัวของเขาเริ่มปรากฏให้เห็นอย่างชัดเจน และด้วยหนังสือเล่มนี้ทำให้เขาต้องหนีไปอยู่ที่วังซีเร (Cirey) ของมาดาม ดูว์ ชาเตอเล (Madame du Châtelet) ในแคว้นลอแรนน์ หล่อนเป็นสตรีผู้สูงศักดิ์และทรงความรู้ ทั้งคู่มีความสัมพันธ์กันยาวนานถึง 17 ปี วอลแตร์รักหล่อนมาก นับว่าหล่อนเป็นแรงบันดาลใจที่สำคัญอีกคนหนึ่ง
ตลอดเวลาที่พักอยู่วังซีเร วอลแตร์จะเขียนหนังสืออยู่ไม่หยุด และจะสนใจศึกษาเรื่องวิทยาศาสตร์ด้วย เขามีโอกาสเดินทางไปต่างประเทศ เช่น ประเทศเนเธอร์แลนด์ เบลเยียม ปรัสเซีย ซึ่งเขาได้กลายเป็นคนโปรดของพระเจ้าฟรีดริชที่ 2 แห่งปรัสเซีย (Frederic II roi de Prusse) ในปี พ.ศ. 2288 (ค.ศ. 1745) วอลแตร์ได้รับแต่งตั้งให้เป็นนักประวัติศาสตร์แห่งชาติ และปีต่อมาก็ได้รับเลือกให้เป็นสมาชิกบัณฑิตยสถานของฝรั่งเศส (l’Académie française) และยังได้รับบรรดาศักดิ์เป็นขุนนางอีกด้วย จากการที่วอลแตร์เป็นคนที่มีความสามารถ เขาจึงได้กลายเป็นที่โปรดปรานของมาดาม เดอ ปงปาดูร์ (Madame de Pompadour) พระสนมเอกของพระเจ้าหลุยส์ที่ 15 แต่อย่างไรก็ตามชีวิตของเขาก็เริ่มตกอับ กล่าวคือเขาเริ่มเบื่อหน่ายกับชีวิตในราชสำนักที่มีแต่การเอารัดเอาเปรียบ การแก่งแย่งชิงดี ประจบสอพลอ อีกทั้งมาดาม เดอ ปงปาดูร์ ก็หันไปโปรดกวีคนใหม่คือ เครบียง (Crébillon) และยิ่งร้ายไปกว่านั้นในปี พ.ศ. 2292 (ค.ศ. 1749) มาดาม ดูว์ ชาเตอเล ก็ได้เสียชีวิตลง วอลแตร์จึงรู้สึกโดดเดี่ยวอ้างว้างมาก ชะตาชีวิตระหว่างปี พ.ศ. 2286-2290 นี้ นับเป็นแรงบันดาลใจให้เขาแต่งนวนิยายเชิงปรัชญาที่สำคัญ คือ ซาดิก (Zadig ou La Destineé) ซึ่งตีพิมพ์ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2291 (ค.ศ. 1748)
นอกจากนี้ในปี พ.ศ. 2293 (ค.ศ. 1750) เขาได้รับเชิญจากพระเจ้าฟรีดริชที่ 2 ให้ไปอยู่ในราชสำนัก ระหว่างที่พักอยู่ที่ราชสำนักเบอร์ลินเขาได้ตีพิมพ์ผลงานที่สำคัญสองเรื่อง คือ ศตวรรษพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 (Le Siècle de Louis XIV) และนิทานปรัชญาเรื่อง มีโครเมกา (Micromégas) ต่อมาไม่นานวอลแตร์กลับได้พบความผิดหวังในตัวพระองค์อย่างรุนแรง เพราะพระองค์ทรงเห็นวรรณคดีและปรัชญาเป็นเพียงเครื่องเล่นประเทืองอารมณ์เท่านั้น อีกทั้งพระองค์ทรงเล่นการเมืองด้วยความสับปลับ และเมื่อมีปัญหากับพระเจ้าเฟรเดอริกที่ 2 วอลแตร์ก็ได้ไปตั้งรกรากอยู่ในเมืองเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ที่คฤหาสน์เลเดลิส (Les Délices) และอยู่ที่นั่นกับหลานสาวชื่อมาดามเดอนี (Madame Denis) ซึ่งมีความสัมพันธ์กันมาได้สิบปีแล้ว ในปี พ.ศ. 2300 วอลแตร์ซื้อคฤหาสน์ใหม่ที่แฟร์เน (Ferney) ในประเทศฝรั่งเศสติดชายแดนสวิตเซอร์แลนด์ และเขาได้เริ่มเขียนนิทานปรัชญาเรื่อง ก็องดิดด์ หรือ สุทรรศนนิยม (Candide ou L’optimisme) ในปีต่อมา ซึ่งถือกันว่าเป็นผลงานชิ้นเอกของเขาอีกเรื่องหนึ่งเลยที่เดียว ผลงานชิ้นนี้ได้ยืนยันความเป็นปราชญ์ของวอลแตร์ ผู้ซึ่งเป็นสัญลักษณ์แห่งความคิดวิพากษ์ วิจารณ์ในศตวรรษที่18 ได้เป็นอย่างดี
ระหว่างในปี พ.ศ. 2305 – 2308 วอลแตร์ได้ช่วยเหลือครอบครัวกาลาส (Calas) โดยการเรียกร้องความยุติธรรมให้แก่ ฌ็อง กาลาส ผู้เป็นบิดาซึ่งถูกตัดสินลงโทษจนเสียชีวิต จากข้อกล่าวหาว่าฆ่าลูกชายที่ประสงค์จะเปลี่ยนไปนับถือนิกายคาทอลิก เขาจึงได้เขียน บทความว่าด้วยขันติธรรม (Traité sur la tolérance)
ในปี พ.ศ. 2306 ซึ่งพูดถึงการยอมรับศาสนาที่แตกต่างกันออกไปเพื่อช่วยเรียกร้องความเป็นธรรมให้กับครอบครัวกาลาส เหตุที่เขาเข้าไปช่วยเพราะเขาเห็นว่าไม่มีอะไรเลวร้ายไปกว่าการลงโทษประหารชีวิตผู้บริสุทธิ์ และคำตัดสินใหม่ก็ทำให้ตระกูลกาลาสพ้นผิด ภรรยาและบุตรธิดาของฌอง กาลาสก็ได้รับทรัพย์สมบัติของตระกูลคืน จากเหตุการณ์ครั้งนี้ทำให้วอลแตร์เปรียบเสมือนวีรบุรุษแห่งตำนาน เป็นประทีปแห่งปัญญาที่ไม่เคยมีปัญญาชนคนใดเคยทำมาก่อน
ช่วงนี้วอลแตร์ก็ยังมีผลงานคือ ปทานุกรมปรัชญา (Le Dictionnaire Philosophique) ในปี พ.ศ. 2307 (ค.ศ. 1764) อีกด้วย อย่างไรก็ตามแม้ว่าเขาจะมีความขัดแย้งกับผู้คนจำนวนมาก เพราะความกล้าที่จะเสียดสีสังคมของเขา แต่ในตอนบั้นปลายชีวิตของวอลแตร์ เขาก็ได้รับการต้อนรับอย่างทรงเกียรติ เมื่อเดินทางกลับมายังกรุงปารีส ซึ่งโรงละครกอเมดีฟร็องแซซ (La Comédie Française) จัดแสดงละครโศกนาฏกรรมเรื่องสุดท้ายที่วอลแตร์แต่งคือ อิแรน (Irène) เพื่อฉลองการกลับมาถึงกรุงปารีสของเขา โดยที่ช่วงก่อนการแสดง ช่วงสิ้นสุดแต่ละองค์ และช่วงจบการแสดง นักแสดงได้นำรูปปั้นครึ่งตัวของวอลแตร์ขึ้นบนเวที ฝูงชนก็ตบมือและส่งเสียงเรียกชื่อของเขาดังกึกก้อง
ศตวรรษต่อมาวิกตอร์ อูโก (Victor Hugo) กล่าวว่า "วอลแตร์ คือ 1789" เพราะความคิดของวอลแตร์มีอิทธิพลต่อประชาชนผู้ลุกฮือขึ้นมาทำการปฏิวัติใหญ่ในประเทศฝรั่งเศสในปี พ.ศ. 2332 จึงไม่น่าแปลกใจเลยว่า เมื่อวอลแตร์เสียชีวิตไปในวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2321 (ค.ศ. 1778) ขณะที่มีอายุได้ 84 ปีนั้น ทางศาสนาไม่อยากทำพิธีศพให้ แต่เมื่อประชาชนทำการปฏิวัติได้สำเร็จ ก็ได้นำอัฐิของเขาไปยังวิหารป็องเตอง (Le Panthéon) ในปี 1791 ในฐานะผู้ที่ประกอบคุณอนันต์ให้แก่ประเทศฝรั่งเศส
ผลงานของวอลแตร์
ผลงานของวอลแตร์มีจำนวนมากมาย หลากหลายประเภททั้งบทละคร นิยาย นิทานเชิงปรัชญา ประวัติศาสตร์ และบทกวี เขาได้รับยกย่องจากคนร่วมสมัยว่าเป็นนักเขียนบทละครชั้นนำและกวีชั้นนำ แต่ในปัจจุบันเขากลับเป็นที่ยกย่องในฐานะนักเขียนเชิงเสียดสี วิพากษ์วิจารณ์ (Le symbole de l’esprit critique) ผลงานของเขาส่วนใหญ่เป็นการเผยแพร่ความคิดทางปรัชญาไปสู่สาธารณชน เพื่อปลุกความคิดวิพากษ์วิจารณ์ให้แก่ชาวฝรั่งเศส เพื่อต่อต้านความคิดระบบสถาบันแบบเก่า การต่อสู้เพื่อขจัดความอยุติธรรมในสังคม รวมทั้งความเชื่อที่งมงายและความบ้าคลั่งทางศาสนา นอกจากนี้เขายังส่งเสริมเรียกร้องสิทธิ เสรีภาพและการแสดงความคิดเห็นอีกด้วย
วันศุกร์ที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2554
หอไอเฟล (Eiffel Tower)
หอไอเฟล (Eiffel Tower) หอคอยโครงสร้างเหล็กตั้งอยู่บนชองป์ เดอ มารส์ บริเวณแม่น้ำแซน ในกรุงปารีส หอไอเฟลเป็นสัญลักษณ์ของประเทศฝรั่งเศสที่เป็นที่รู้จักกันทั่วโลก ทั้งยังเป็นหนึ่งในสิ่งก่อสร้างที่มีชื่อเสียงที่สุดในโลกอีกด้วย
หอไอเฟลเป็นหนึ่งในสิ่งก่อสร้างที่โด่งดังที่สุดแห่งหนึ่งของโลก โดยตั้งชื่อตามสถาปนิกผู้ออกแบบ "กุสตาฟ ไอเฟล" ในปี พ.ศ. 2549 นักท่องเที่ยวกว่า 6,719,200 คนได้เข้าเยี่ยมชมสถานที่แห่งนี้ และกว่า 200,000,000 คนตั้งแต่เริ่มก่อสร้าง ส่งผลให้หอไอเฟลเป็นสิ่งก่อสร้างที่มีคนเข้าชมมากที่สุดต่อปีอีกด้วย หอไอเฟลมีความสูง 324 เมตร (รวมเสาอากาศสูง 24 เมตร) ซึ่งก็สูงเท่ากับตึก 81 ชั้น
เมื่อหอไอเฟลสร้างเสร็จในปี พ.ศ. 2432 หอไอเฟลกลายเป็นสิ่งก่อสร้างที่สูงที่สุดในโลกแทนที่อนุสาวรีย์วอชิงตัน และได้ครองตำแหน่งนี้มาเรื่อยๆ จนกระทั่งปี พ.ศ. 2473 ก็ได้เสียตำแหน่งให้แก่ตึกไครส์เลอร์ (319 เมตร) ที่เพิ่งสร้างเสร็จ ปัจจุบันฟอไอเฟลสูงเป็นอันดับที่ 5 ในประเทศฝรั่งเศสและสูงที่สุดในกรุงปารีส ซึ่งอันดับสองคือหอมงต์ปาร์นาสส์ (Tour Montparnasse - 210 เมตร) ซึ่งในไม่ช้าจะถูกแทนที่โดยหออาอิกซ์อา (Tour AXA - 225.11 เมตร)
หอไอเฟลมีความสูง 300 เมตร ซึ่งไม่รวม เสาอากาศ 24 เมตร ด้านบนนั้น ถ้าเปรียบเทียบกับตึกแล้วจะมีประมาณ 75 ชั้น ในขณะที่ก่อสร้างปี พ.ศ. 2432 หอไอเฟลนั้นเป็นสิ่งก่อสร้างที่สูงที่สุดบนโลก โดยถูกล้มตำแหน่งเมื่อเมืองนิวยอร์กได้สร้าง ตึกไครสเลอร์ สูง 319 เมตร
น้ำหนักเหล็กที่ใช้ก่อสร้างนั้นทั้งหมด 7,300 ตัน และถ้ารวมทั้งหมดก็เป็น 10,000 ตัน ส่วนจำนวนบันไดนั้นเปลี่ยนแปลงตลอด เมื่อแรกเริ่มนั้นมี 1710 ขั้น ในทศวรรษที่ 1980 มี 1920 ขั้น และในปัจจุบัน มี 1665 ขั้น
หอไอเฟลเป็นหนึ่งในสิ่งก่อสร้างที่โด่งดังที่สุดแห่งหนึ่งของโลก โดยตั้งชื่อตามสถาปนิกผู้ออกแบบ "กุสตาฟ ไอเฟล" ในปี พ.ศ. 2549 นักท่องเที่ยวกว่า 6,719,200 คนได้เข้าเยี่ยมชมสถานที่แห่งนี้ และกว่า 200,000,000 คนตั้งแต่เริ่มก่อสร้าง ส่งผลให้หอไอเฟลเป็นสิ่งก่อสร้างที่มีคนเข้าชมมากที่สุดต่อปีอีกด้วย หอไอเฟลมีความสูง 324 เมตร (รวมเสาอากาศสูง 24 เมตร) ซึ่งก็สูงเท่ากับตึก 81 ชั้น
เมื่อหอไอเฟลสร้างเสร็จในปี พ.ศ. 2432 หอไอเฟลกลายเป็นสิ่งก่อสร้างที่สูงที่สุดในโลกแทนที่อนุสาวรีย์วอชิงตัน และได้ครองตำแหน่งนี้มาเรื่อยๆ จนกระทั่งปี พ.ศ. 2473 ก็ได้เสียตำแหน่งให้แก่ตึกไครส์เลอร์ (319 เมตร) ที่เพิ่งสร้างเสร็จ ปัจจุบันฟอไอเฟลสูงเป็นอันดับที่ 5 ในประเทศฝรั่งเศสและสูงที่สุดในกรุงปารีส ซึ่งอันดับสองคือหอมงต์ปาร์นาสส์ (Tour Montparnasse - 210 เมตร) ซึ่งในไม่ช้าจะถูกแทนที่โดยหออาอิกซ์อา (Tour AXA - 225.11 เมตร)
หอไอเฟลมีความสูง 300 เมตร ซึ่งไม่รวม เสาอากาศ 24 เมตร ด้านบนนั้น ถ้าเปรียบเทียบกับตึกแล้วจะมีประมาณ 75 ชั้น ในขณะที่ก่อสร้างปี พ.ศ. 2432 หอไอเฟลนั้นเป็นสิ่งก่อสร้างที่สูงที่สุดบนโลก โดยถูกล้มตำแหน่งเมื่อเมืองนิวยอร์กได้สร้าง ตึกไครสเลอร์ สูง 319 เมตร
น้ำหนักเหล็กที่ใช้ก่อสร้างนั้นทั้งหมด 7,300 ตัน และถ้ารวมทั้งหมดก็เป็น 10,000 ตัน ส่วนจำนวนบันไดนั้นเปลี่ยนแปลงตลอด เมื่อแรกเริ่มนั้นมี 1710 ขั้น ในทศวรรษที่ 1980 มี 1920 ขั้น และในปัจจุบัน มี 1665 ขั้น
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)